Lucky Charms Heart

ตัววิง

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวสุณัฏฐา เจริญวิบูลภัทร์ ค่ะ

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตัวอย่างคำประพันธ์ที่นิยมท่องเป็นต้นแบบเพื่อง่ายต่อการจดจำแผนผัง
    เสียงลือเสียงเล่าอ้าง
อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร
ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล
ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า
อย่าได้ถามเผือ

ลิลิตพระลอ
ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)
. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้
ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)
๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง
หลักการจำตำแหน่งวรรณยุกต์ แบบฉบับลุงอ่ำ
    กากากาก่าก้า
กาก่ากากากา
กากาก่ากากา
กาก่ากากาก้า
กากา (00)
ก่าก้า
กาก่า (00)
ก่าก้ากากา
 

๕. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้
เอกโทษ
และโทโทษ เอกโทษ และโทโทษ คืออะไร?
คำเอกคำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุต์โท กำกับ
อยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้
คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ
และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด
(ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้)
คำตาย คือ
1. คำที่ประสมสระเสียงสั้นแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่นกะ ทิ สิ นะ ขรุ ขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โปีะ ฯลฯ
2. คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด เช่น เลข วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ
คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม
เช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน

คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท "โคลง" และ "ร่าย"และถือว่าเป็นข้อ
บังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้
เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมาเขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า "โทโทษ"
ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า "เอกโทษ"

เอกโทษและโทโทษ นำมาใช้แก้ปัญหาได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


          มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรมที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

ตัวชี้วัด ท 31102 ภาษาไทย

ตัวชี้วัด
๑. อ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรองให้ถูกต้อง และเหมาะสม
๒. ตีความแปลความและขยายความที่อ่าน
๓. วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่าน
๔. ประเมินค่าเรื่องที่อ่านและนำมาใช้ในชีวิตจริง
๕. แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง และแสดงความคิดเห็นใหม่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
๖. ตอบคำถามเรื่องที่อ่าน
๗. มีมารยาทในการอ่าน
๘. เขียนสื่อสารได้ถูกต้อง ตามรูปแบบและใช้ภาษาได้ถูกต้อง
๙. เขียนเรียงความได้
๑๐. เขียนย่อความได้
๑๑. ประเมินงานเขียนของผู้อื่นและนำมาพัฒนางานเขียนของตน
๑๒. ผลิตงานเขียนของตนเอง ในรูปแบบต่างๆ
๑๓. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการ และใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิงได้ถูกต้อง
๑๔. บันทึกการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปพัฒนาตนเองได้
๑๕. มีมารยาทในการเขียน
๑๖. ประเมินเรื่องที่ฟังและดูแล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง
๑๗. มีวิจารณญาณในที่เลือกและดู
๑๘. มีมารยาทในการฟังและการดูและการพูด
๑๙. พูดในโอกาสต่างๆ
๒๐. แต่งบทร้อยกรองได้ถูกต้องและเหมาะสม
๒๑. วิเคราะห์ทัศนะของภาษาต่างประเทศได้
๒๒. อธิบายวิเคราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้
๒๓. วิเคราะห์ประเมินการใช้ สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
๒๔. วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีวรรณกรรมหลักตามวิจารญาณเบื้องต้นได้
๒๕. วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงการเรียนรู้ต่อประวัติศาสตร์
๒๖. ประเมินคุณค่าด้านวัฒนธรรมได้
๒๗. สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีวรรณกรรมและนำไปประยุกต์ใช้จริงได้
๒๘. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานที่มีคุณค่าและนำไปใช้อ้างอิงได้